ว่ายน้ำข้ามทะเลสาบสงขลา - Singora Lake Swim
สงขลา - Songkhla
ไม่มีข้อมูล ไม่ดี ควรปรับปรุง ดี พอใจ ดีมาก ประทับใจ
การประชาสัมพันธ์ก่อนงาน
งานนี้กำหนดเดิมจะจัดช่วงต้นปี 2563 แต่ก็ต้องเลื่อนหลายครั้งเพราะสถานการณ์โควิดตั้งแต่ระลอกแรก และตามมาอีกหลายระลอก กลางปี 2564 Facebook ของงาน [1] ประกาศว่าจะจัดในเดือนมีนาคม 2565 และเริ่มประชาสัมพันธ์งานใหม่ล่วงหน้า 2 เดือน เส้นทางว่ายน้ำรู้กันล่วงหน้าเป็นปี แต่ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ มาประชาสัมพันธ์ช่วงใกล้งาน ผู้ดูแล Facebook ตอบคำถามรวดเร็วและตรงประเด็น
การประชาสัมพันธ์ในงาน
เสียงประชาสัมพันธ์ในงานทั้งฝั่งโรงสีแดงและ Songkhla Pier มีเฉพาะภาคไทย ชัดเจนได้ยินทั่วถึงบริเวณที่จัดงานและเป็นกันเองดี แต่ถึงพื้นที่จัดงานจะไม่ใหญ่ ถ้ามีแผนผังแสดงพื้นที่จัดงานทั้งหมดก็จะดีมาก เช่น จุดอาบน้ำ จุดลงเรือหางยาว ร้านค้าจากชุมชน สุขา เป็นต้น
ที่จอดรถและบริการขนส่ง
สถานที่จอดรถย่านเมืองเก่าหน้าวัดยางทอง พื้นที่กว้างขวางเพียงพอและใกล้บริเวณจัดงาน สะดวกมาก ใช้เวลาเดินไม่ถึง 5 นาที แต่ไม่มีป้ายบอกทาง ส่วนบริการเรือหางยาวไปกลับข้ามทะเลสาบรวดเร็วดี ไม่ต้องรอนาน
สถานที่จอดรถย่านเมืองเก่าหน้าวัดยางทอง พื้นที่กว้างขวางเพียงพอและใกล้บริเวณจัดงาน สะดวกมาก ใช้เวลาเดินไม่ถึง 5 นาที แต่ไม่มีป้ายบอกทาง ส่วนบริการเรือหางยาวไปกลับข้ามทะเลสาบรวดเร็วดี ไม่ต้องรอนาน
ข้อมูล กติกาการแข่งขัน
ไม่มี race brief ทั้งวันลงทะเบียนและวันจัดงาน ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมไม่ทราบว่า ช่วงไหนจะสังเกตหมายอะไร ว่ายอย่างไร ต้องว่ายอ้อมหรือตัดทุ่นใหญ่ ว่ายด้านนอกหรือด้านในแนวทุ่นไข่ปลา ทำให้อาสาสมัครบนเรือและซับบอร์ดต้องตะโกนบอกแทน ที่สำคัญ ไม่แจ้งเรื่องกระแสน้ำ ความลึกของร่องน้ำ และความตื้นช่วงป่าชายเลนฝั่งแหลมสน ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับผู้ร่วมกิจกรรมได้
การลงทะเบียน การจัดการ
การลงทะเบียนและการจัดการตามมาตรการป้องกันโควิด รวดเร็วดีมาก การใช้พื้นที่จัดงานทำได้ดี บริการต่าง ๆ ไม่ต้องรอคิวนาน
ความปลอดภัย-ว่ายน้ำ
การกำหนดให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนใช้ buoy และมีทีมดูแลความปลอดภัยดีมาก การทะยอยปล่อยตัวผู้ร่วมกิจกรรมจากเรือสามารถลดความหนาแน่นได้ดี แต่ทุ่นใหญ่ที่ควรเป็นหมายให้ผู้ร่วมกิจกรรมวางห่างไป
ไม่มี race brief ทั้งวันลงทะเบียนและวันจัดงาน ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมไม่ทราบว่า ช่วงไหนจะสังเกตหมายอะไร ว่ายอย่างไร ต้องว่ายอ้อมหรือตัดทุ่นใหญ่ ว่ายด้านนอกหรือด้านในแนวทุ่นไข่ปลา ทำให้อาสาสมัครบนเรือและซับบอร์ดต้องตะโกนบอกแทน ที่สำคัญ ไม่แจ้งเรื่องกระแสน้ำ ความลึกของร่องน้ำ และความตื้นช่วงป่าชายเลนฝั่งแหลมสน ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับผู้ร่วมกิจกรรมได้
การลงทะเบียน การจัดการ
การลงทะเบียนและการจัดการตามมาตรการป้องกันโควิด รวดเร็วดีมาก การใช้พื้นที่จัดงานทำได้ดี บริการต่าง ๆ ไม่ต้องรอคิวนาน
ความปลอดภัย-ว่ายน้ำ
การกำหนดให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนใช้ buoy และมีทีมดูแลความปลอดภัยดีมาก การทะยอยปล่อยตัวผู้ร่วมกิจกรรมจากเรือสามารถลดความหนาแน่นได้ดี แต่ทุ่นใหญ่ที่ควรเป็นหมายให้ผู้ร่วมกิจกรรมวางห่างไป
การแพทย์
การเฝ้าระวัง การป้องกันโควิดบริเวณจัดงานทั้งฝั่งโรงสีแดงและ Songkhla Pier ทำได้ดี แต่การให้ผู้ร่วมกิจกรรมจำนวนมากลงเรือพร้อมกันโดยบางส่วนไม่ใส่หน้ากาก และไม่มีจุดทิ้งหน้ากากก่อนลงน้ำ ทำให้มีขยะหน้ากากทิ้งอยู่บนเรือจำนวนมาก ส่วนการบริการทางการแพทย์มีการเฝ้าระวังดี สร้างความอุ่นใจตลอดเส้นทางว่ายน้ำ
อาหาร เครื่องดื่ม
มีเครื่องดื่มระหว่างว่ายน้ำเพียงพอและการบริการของอาสาสมัครดีมาก ส่วนอาหาร ขนมพื้นเมืองและเครื่องดื่มที่ Songkhla Pier ก็มีเพียงพอจัดเป็นชุด ๆ โดยผู้ร่วมกิจกรรมใช้คูปองทำให้ไม่แออัด จัดการเรื่องคิวและป้องกันโควิดได้ดี
การเฝ้าระวัง การป้องกันโควิดบริเวณจัดงานทั้งฝั่งโรงสีแดงและ Songkhla Pier ทำได้ดี แต่การให้ผู้ร่วมกิจกรรมจำนวนมากลงเรือพร้อมกันโดยบางส่วนไม่ใส่หน้ากาก และไม่มีจุดทิ้งหน้ากากก่อนลงน้ำ ทำให้มีขยะหน้ากากทิ้งอยู่บนเรือจำนวนมาก ส่วนการบริการทางการแพทย์มีการเฝ้าระวังดี สร้างความอุ่นใจตลอดเส้นทางว่ายน้ำ
อาหาร เครื่องดื่ม
มีเครื่องดื่มระหว่างว่ายน้ำเพียงพอและการบริการของอาสาสมัครดีมาก ส่วนอาหาร ขนมพื้นเมืองและเครื่องดื่มที่ Songkhla Pier ก็มีเพียงพอจัดเป็นชุด ๆ โดยผู้ร่วมกิจกรรมใช้คูปองทำให้ไม่แออัด จัดการเรื่องคิวและป้องกันโควิดได้ดี
* ความเห็นนี้มาจากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองเท่านั้น และได้จากการร่วมกิจกรรมระยะ 2000 เมตร ไม่รวมระยะอื่น ซึ่งบริบทต่างไป
ขอบคุณภาพจาก Facebook: Singora Lake Swim
การว่ายน้ำข้ามทะเลสาบสงขลาจากฝั่งบ่อยางตัวเมืองสงขลาปัจจุบันไปฝั่งสิงหนครตัวเมืองในอดีต เป็นเรื่องที่ผมอยากทำมานานแล้ว เพราะดูระยะช่วงปากทะเลสาบนี้ไม่น่าจะถึง 1000 เมตร แต่ก็ไม่คิดไม่กล้าไปว่ายเอง ต้องรอให้มีคนจัดงาน มีการดูแลความปลอดภัยแบบนี้ จึงไม่ลังเลลงสมัครทันทีที่รู้ข่าว จะกังวลอยู่บ้าง ก็เรื่องกระแสน้ำที่คิดเอาเองว่า น่าจะแรงมาก เนื่องจากปากทะเลสาบที่มีลักษณะสอบแคบลง และมีร่องน้ำลึกให้เรือประมงผ่านเข้าออก
ผมไม่รู้เรื่องงานนี้ตอนกำหนดจัดครั้งแรก เพิ่งมาเห็นใน Facebook [1] ตอนเปิดรับสมัครเพิ่มหลังงานถูกเลื่อนเพราะพิษโควิดระลอกแรก โดยสมัครระยะ 2000 เมตรไว้ เพราะผมว่ายน้ำในสระครั้งละ 3000 เมตรทุกสัปดาห์อยู่แล้ว ถ้าหักลบกับเรื่องกระแสน้ำที่กังวล ก็น่าจะกำลังพอดีแรง ยังไม่กล้าสมัครระยะ 5000 เมตร
ถ้าเปรียบเทียบระยะ 2000 เมตรในงานนี้กับที่ว่ายประจำในสระ ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่ความที่สระว่ายน้ำปิดตลอดช่วงโควิดไม่ได้ว่ายน้ำเลยเป็นปี ก็ต้องกลับมารื้อฟื้นใหม่เมื่อสระเปิดช่วง 2 เดือนก่อนงาน ผมมีปัญหาตะคริวจับปลายนิ้วและน่องสลับข้างกันหลังว่ายได้ระยะ 2000 เมตรเกือบทุกครั้ง เลยต้องวางแผนเรื่องกินน้ำ เกลือแร่ และอบอุ่นร่างกายก่อนให้ดี
ผมดื่มน้ำตุนไว้ตั้งแต่คืนก่อนงาน ตื่นเช้าก็ซัดกล้วยหอมไป 3 ลูกกับน้ำเปล่าอีก 3 แก้ว แล้วขับรถจากหาดใหญ่ไปเมืองเก่าสงขลา ตรงที่จอดรถผมกินน้ำเกลือแร่ที่เตรียมไปอีกขวดใหญ่ แล้วเอาครีมนวดน่องและเท้าเตรียมพร้อมเต็มที่ ระหว่างพิธีเปิดงานก็ยืดเส้นยืดสาย อบอุ่นร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่องตลอด ก่อนจะลงเรือไปปล่อยตัว ก็เติมน้ำอีก 1 ขวดเล็ก
ขอบคุณภาพจาก Facebook: Singora Lake Swim
น้ำค่อนข้างอุ่นทำให้รู้สึกผ่อนคลาย แรงยังดีแบบนี้ก็อยากว่ายฟรีสไตล์เพื่อทำเวลา แต่ก็เจอแดดแยงตาตอนเงยหน้าด้านขวาขึ้นมาหายใจ เลยต้องสลับท่ากบโดยต้องพยายามปิดปากให้สนิทเวลาก้มหัวลงน้ำ เพราะเพิ่งฟังเรื่อง ทองลอยน้ำ ตอนอยู่บนเรือมาหยก ๆ เจ้าถิ่นเขาพูดถึงอุจจาระที่ลอยน้ำมาตามวิถีชุมชน แต่ขนาดเม้มปากเต็มที่แล้ว ไหงยังรู้ว่ารสชาติของน้ำเดี๋ยวเค็ม เดี๋ยวจืด เดี๋ยวกร่อย ก็ไม่รู้
สักพัก Garmin ก็เริ่มออกอาการเหมือนครั้งก่อน ๆ อีก สั่นเตือนมาแสดงว่าจับสัญญาณ GPS ไม่ได้อีกแล้ว ..เซ็งมาก จนว่ายผ่านทุ่นสีส้มลูกใหญ่ที่มองเห็นตอนอยู่บนฝั่งแล้วคิดเองว่า น่าจะเป็นจุดเลี้ยวตัดข้ามทะเลสาบ แต่ผู้ร่วมกิจกรรมข้างหน้ายังว่ายต่อทิศเดิม จึงเพิ่งสังเกตเห็นว่า มีทุ่นสีส้มลูกที่สองอยู่ลิบ ๆ ช่วงนี้เองที่รู้สึกว่ากระแสน้ำแรงมาก ถ้าหยุดว่ายเมื่อไร เหมือนจะถอยหลังไปไกล ที่ทำให้ใจเสีย คือ เริ่มเห็นผู้ร่วมกิจกรรมถูกรับขึ้นเรือไปทีละคน แล้วได้ยินเสียงอาสาสมัครบนเรือกับซับบอร์ดแวะเวียนมาถามว่า “ขึ้นเรือมั้ย” ยิ่งว่ายไปยิ่งเหลือผู้ร่วมทางน้อยลง ๆ ไม่เคยว่ายน้ำเหงาแบบนี้มาก่อน เคยคุ้นแต่ดงปลาตีน
ขอบคุณภาพจาก Facebook: Singora Lake Swim
ช่วงว่ายตัดข้ามทะเลสาบนี้น่าจะเป็นช่วงที่ยากที่สุด เพราะไม่เห็นหมายอีกฝั่งเลย และกระแสน้ำทำให้กะทิศลำบากมาก แถมช่วงนี้เหลือคนอื่นใกล้ ๆ ให้ว่ายตามน้อยมาก ผมต้องตะโกนถามทิศจากน้องบนซับบอร์ด แล้วมองตามจุดที่เขาชี้พยายามเล็งหาหมายบนฝั่งสิงหนครไว้ ตลกสิ้นดี..หมายสะดุดตาที่สุด คือ เนินเขาที่กำลังมีกรณีถูกตัดถนนรุกพื้นที่โบราณสถานอยู่ ตามภาพที่เห็นหลังเรือข้างล่าง
ขอบคุณภาพจาก Facebook: Singora Lake Swim
นึกขำอยู่ในใจว่า เราต้องขอบคุณไอ้คนจังไรพวกนั้นมั้ยเนี่ย สักพักผมก็ได้บทเรียนสำคัญที่สุดในการว่ายฝ่ากระแสน้ำเชี่ยวว่า การก้มหน้าก้มตาว่ายฟรีสไตล์ที่น่าจะได้ระยะดีกว่าแต่ผิดทิศกลายเป็นว่ายซิกแซกเสียทั้งแรงทั้งเวลามาก สู้ท่ากบแล้วมองหมายบนฝั่งนิ่งถึงจะได้ระยะช้ากว่า แต่ไม่เหนื่อย ว่ายได้เรื่อย ๆ ไม่เป็นตะคริวด้วย
ช่วงที่ว่ายอ้อมทุ่นสีส้มฝั่งสิงหนครรู้สึกว่า ปลายเท้าสัมผัสพื้นโคลน บางทีมือก็กวาดโคลนไปด้วย โห..น้ำตื้นมาก ลองยืนดู..ระดับเอว ที่กังวลคือ กลัวกระแสน้ำเปลี่ยนทิศแล้วต้องว่ายทวนน้ำกลับให้เจ็บใจอีก แต่ว่ายไปสักพักก็รู้ว่า เป็นตามน้ำสบาย ๆ ที่กลับไม่ชอบคือ พื้นโคลน รู้สึกแหยง ๆ พิกล ช่วงหนึ่งเลยเอา buoy มารองใต้อก แล้วใช้มือกวักลอยตามน้ำไปข้างหน้าแทน มีน้องอาสาสมัครบนซับบอร์ดแวะมาถามว่า กินน้ำหน่อยมั้ยพี่ ตอนแรกก็ปฏิเสธ แต่พอนึกได้ว่า ครั้งนี้น่าจะอยู่ในน้ำนานกว่าปกติ อาจไม่รู้ตัวว่าเสียน้ำ จึงเปลี่ยนใจขอน้ำจากน้องมายืนกิน นับเป็นประสบการณ์ใหม่อีกเรื่อง ที่ได้กินน้ำที่จุดเติมน้ำกลางน้ำ
ขอบคุณภาพจาก Facebook: Singora Lake Swim
หลังจากนั้นก็ว่ายตามน้ำสบายขึ้นมากและเพลินไปกับป่าชายเลนบนฝั่ง มารู้ตัวอีกทีก็พบว่า หลุดออกนอกเส้นทาง ทำให้ต้องเสียเวลาว่ายตัดกลับมาเข้าแนวทุ่นไข่ปลาใหม่ ก่อนจะเห็น Songkhla Pier อยู่ตรงหน้าแบบคาดไม่ถึง
ขึ้นจากน้ำได้ รีบดูนาฬิกา โอ้โห..2 ชม.กว่า ถึงว่าทำไมรู้สึกนานจัง ไม่เคยว่ายน้ำอย่างเดียวนานอย่างนี้มาก่อน ดีที่ตัดสินใจขอน้ำกินก่อนหน้านั้น พอดูระยะที่ Garmin จับได้ ..10 กว่ากิโล เพี้ยนสุด ๆ เลยต้องเหมาเอาเองว่า น่าจะประมาณ 2000-3000 เมตรได้